สน.เอกชน นักสืบที่ดีที่สุด
งานสืบสวนของ สน.เอกชน
การว่าจ้าง สน.เอกชน นั้น ผู้ว่าจ้างควรจะแจ้งรายละเอียดทุกอย่างของงานให้เราทราบ ซึ่งจะทำให้เราสามารถวางแผนในการทำงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุดแก่ผู้ว่าจ้างได้ ผู้ว่าจ้างไม่ควรที่จะปกปิดข้อเท็จจริงบางอย่าง เช่น ถ้าผู้ว่าจ้างเคยว่าจ้างนักสืบ ของสำนักงานนักสืบสะกดรอยตามเป้าหมายมาแล้ว ผู้ว่าจ้างควรแจ้งให้เราทราบด้วย เพราะทีมงาน สน.เอกชน จะได้ทำการประเมินสถานะการณ์ใหม่ เนื่องจากเป้าหมายเคยถูกสะกดรอยมาแล้ว จะมีความระมัดระวังตัวมากขึ้น ทำให้การติดตามเป้าหมายได้ยากขึ้น หรือเป้าหมายอาจจะหลอกพาไปยังสถานที่ต่างๆ ที่เป้าหมายอยากให้เราไป เพื่อให้เราได้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความจริง มารายงานผู้ว่าจ้าง ซึ่งเป็นผลเสียกับงานของผู้ว่าจ้างเองได้
ในกรณีที่ หากเกิดปัญหาขึ้นในระหว่างการปฏิบัติงาน เช่น อาจเกิดอันตรายกับทางทีมงานผู้ปฏิบัติทางทีมงานอาจพิจารณายกเลิกภารกิจนั้น ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของหัวหน้าทีมปฏิบัติ
การให้คำปรึกษาหรือการวางแผนการปฏิบัติงานร่วมกับผู้ว่าจ้างนอกสถานที่ ในกรณีที่ผู้ว่าจ้างต้องการที่จะพูดคุยกับเจ้าหน้าที่โดยตรง(ไม่ต้องการพูดคุยทาง โทรศัพท์) แต่ผู้ว่าจ้างไม่สะดวกที่จะเดินทางมาพบยังที่ทำการของ สน.เอกชนได้ และต้องการให้ สน.เอกชน ส่งเจ้าหน้าที่ไปพบผู้ว่าจ้าง ตามสถานที่และเวลาที่ผู้ว่าจ้างสะดวก สน.เอกชน
ขั้นตอนในการว่าจ้างหลังจากที่ได้มีการตกลงว่าจ้างให้ดำเนินการแล้ว
-
สน.เอกชน จะเรียกเก็บค่าดำเนินการก่อนเริ่มงาน (อัตราค่าบริการขึ้นอยู่กับประเภทของงาน) โดยมีช่องทางการชำระเงินดังนี้
-
การโอนเงินเข้าบัญชีของ สน.เอกชน
ชื่อบัญชี บจก. สน.เอกชน(ประเทศไทย)ธนาคารกสิกรสาขาเอ็นมาร์คพลาซ่า บางกะปิเลขที่ 025-8-64114-0ออมทรัพย์
-
การนำเงินมาชำระที่บริษัทฯ เอง โดย สน.เอกชน จะออกใบเสร็จของ สน.เอกชน ให้กับผู้ว่าจ้าง
-
การให้พนักงานของ สน.เอกชน ไปรับเงินกับท่านเอง พร้อมออกใบเสร็จรับเงินของ สน.เอกชน ให้กับผู้ว่าจ้างไว้เป็นหลักฐาน ในกรณีนี้ขอให้ผู้ว่าจ้างกรุณาติดต่อกับ สน.เอกชน โดยตรงก่อนที่จะส่งมอบเงินให้กับพนักงาน เพื่อความถูกต้องและชัดเจน
-
-
ก่อนเริ่มงาน สน.เอกชน จะทำหนังสือสัญญาว่าจ้างสืบฯให้แก่ผู้ว่าจ้าง
-
ถ้าเป็นงานที่ต้องใช้เวลาในการดำเนินงานตั้งแต่ 7 วัน ขึ้นไป ทาง สน.เอกชน จะรายงานความคืบหน้าให้ท่านทราบเป็นลายลักษณ์อักษร
-
เมื่อทำงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว สน.เอกชน จะแจ้งให้ท่านชำระเงินในส่วนที่เหลือ ในกรณีที่ผู้ว่าจ้างไม่ได้ชำระเงินค่าบริการสืบฯ เต็มจำนวน จากนั้น สน.เอกชน จะส่งมอบงานให้กับผู้ว่าจ้าง ในกรณีของการสะกดรอยถ่ายภาพ สน.เอกชน จะมีการสรุปเป็นรายงานประจำวันการปฏิบัติการสืบฯ ส่งมอบให้แก่ผูว่าจ้างด้วย
สืบพฤติกรรมชู้สาว สะกดรอย ติดตาม ตรวจสอบประวัติ ภูมิหลังต่าง ๆ
สน.เอกชน ให้บริการ งานสืบพฤติกรรมชู้สาว
หากสามี ภริยา หรือคนรักของคุณมีพฤติกรรมดังต่อไปนี้
-
กลับบ้านไม่ตรงเวลา และมีข้ออ้างในการกลับบ้านช้าอยู่เสมอ
-
ออกจากบ้านไปทำงานเร็วผิดปกติ และกลับบ้านช้าผิดปกติ
-
อ้างว่าติดประชุมบ่อยๆ ติดต่อทางโทรศัพท์ไม่ค่อยได้ ปิดเครื่องเสมอ(โทรศัพท์มือถือ)
-
มีโทรศัพท์แปลกๆ เข้ามาบ่อยผิดปกติ ชอบแอบไปคุยโทรศัพท์ข้างนอก พกโทรศัพท์ติดตัวอยู่เสมอ ไม่ค่อยยอมให้ใครใช้โทรศัพท์ของตนเอง ใส่รหัสเปิดเครื่องเสมอ
-
มีการเดินทางไปต่างจังหวัดบ่อยๆ ส่วนมากจะบอกว่าไปสัมมนากับทางบริษัท หรือไปพบลูกค้าต่างจังหวัด
-
มีความพิถีพิถันในการแต่งตัวมากขึ้น รักสวยรักงามมากขึ้น แต่งตัวเป็นวัยรุ่นมากขึ้น
-
ชอบออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน โดยมักจะมีข้ออ้างต่างๆ เสมอ
-
ชอบไปทำงานในวันหยุด อาจจะอ้างเรื่องทำโอที หรือเรื่องอื่นๆ
-
การมีเพศสัมพันธ์กับสามีหรือภริยา น้อยลงอย่างเห็นได้ชัดเจน
-
มีการใช้จ่าย ทั้งเงินสด หรือบัตรเครดิต มากผิดปกติ
-
อาจมีหนี้สินที่เพิ่มขึ้น
-
ในพวงกุญแจ อาจจะมีกุญแจแปลกๆ ซึ่งไม่ทราบว่าเป็นกุญแจอะไร (อาจเป็นกุญแจบ้าน คอนโด อพาร์ทเมนท์ ของชู้) หรืออาจมีกุญแจอื่นๆ ซุกซ่อนเอาไว้ในรถยนต์ส่วนตัว
-
มีสิ่งของเครื่องใช้ของคนอื่นอยู่ภายในรถยนต์ส่วนตัว เช่น น้ำหอม ต่างหู ลิปสติก เป็นต้น
-
จากคนที่ไม่ชอบออกกำลังกาย อาจหันมาออกกำลังกายมากขึ้น มีการสมัครเข้าเป็นสมาชิกสปอร์ตคลับ
-
กรณีที่เป็นหญิง อาจชอบไปเรียนเต้นลีลาศ หรือฝึกโยคะมากขึ้น
-
มีงานสังสรรค์บ่อยขึ้น เช่น งานเลี้ยงวัดเกิดเพื่อน วันเกิดเจ้านาย วันเกิดลูกน้อง งานเลี้ยงรุ่น งานเลี้ยงศิษย์เก่า เป็นต้น
-
ค่าโทรศัพท์มากขึ้นผิดปกติ อาจเปลี่ยนที่ส่งบิลค่าโทรศัพท์ไปที่ทำงาน
-
ปกปิด ซ่อนเร้น ทรัพย์สินต่างๆ เช่น บัญชีเงินฝากธนาคาร บัญชีการซื้อขายหุ้น
-
หากเป็นเจ้าของกิจการเอง อาจใช้เวลาทำงานตอนกลางวันไปหาชู้ เมื่อโทรศัพท์ไปหาที่ทำงานมักจะไม่พบ อ้างว่าไปพบลูกค้า
-
ชอบหาเรื่องทะเลาะกับสามี หรือภริยา เป็นประจำ และมักจะออกจากบ้านไปเวลาทะเลาะกัน
-
หรือมีอาการผิดปกติอย่างอื่นที่ท่านคิดว่าสามีหรือภริยาของท่าน เป็นชู้หรือมีชู้
พฤติกรรมที่กล่าวถึงข้างต้นอาจเกิดขึ้น เพราะสามี ภริยา หรือคนรักของท่าน มีชู้หรือเป็นชู้ก็เป็นได้
การฟ้องหย่าและเรียกค่าทดแทนจากชายชู้หรือหญิงชู้นั้นจะต้องมีลักษณะดังนี้คือ
-
เป็นสามีภริยาทีได้จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย
-
สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้ (ชาย ที่ร่วมประเวณีด้วยเมียเขา) หรือมีชู้ (หญิงที่ยังมีสามีอยู่แล้วร่วมประเวณีกับชายอื่น) หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ
-
สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวก็ได้และ ภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผย เพื่อแสดงว่าตน มีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวก็ได้
-
สามีหรือภริยาไม่ได้ให้ความยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจให้อีกฝ่ายหนึ่งกระทำการตาม ข้อ 2. หรือให้ผู้อื่นกระทำการตาม ข้อ 3.
-
การที่ภริยาหรือสามี จะมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาที่มีชู้หรือเป็นชู้นั้น จะต้องเป็นกรณีที่มีการฟ้องหย่าเท่านั้น ส่วนการเรียกค่าทดแทนจากชู้นั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องมีการฟ้องหย่า
การสืบพฤติกรรมชู้สาวนั้นจะต้องสืบหาอะไรบ้างเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องหย่าและฟ้องร้องเรียกค่าทดแทนจากชู้
-
จะต้องสืบหาข้อมูลการใช้โทรศัพท์ของสามี ภริยา หรือของชู้ เพราะตามปกติแล้วคนที่มีชู้หรือเป็นชู้นั้น จะต้องมีการโทรศัพท์ หรือส่งข้อความหาชู้อย่างสม่ำเสมอแน่นอน
-
จะต้องสืบหาข้อมูลด้านการเงิน ของสามี ภริยา หรือของชู้ เพราะมีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูงมาก ที่จะมีการโอนเงินให้แก่กัน หรือมีการเขียนเช็คให้ หรือมีการซื้อบ้าน ทาวน์เฮาส์ คอนโดมิเนียม หรือการเช่าที่พักอาศัยให้แก่กัน อาจมีการใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าต่างๆ หรือของขวัญส่งมอบให้แก่กัน
-
จะต้องสืบหาข้อมูลการถือครองอสังหาริมทรัพย์ โฉนดบ้าน ที่ดิน ทาวน์เฮาส์ คอนโด ชื่อผู้เช่าห้องพักอาศัย (ที่อยู่อาศัยของชู้) ว่าใครเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าว (ใครเป็นคนจ่ายเงินที่แท้จริง) สืบหาที่มาของเงินที่ใช้ซื้อทรัพย์สินดังกล่าวเหล่านั้น
-
จะต้องสืบหาข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำวันของสามี หรือภริยาที่มีชู้หรือเป็นชู้ ด้วยการสะกดรอยตาม พร้อมถ่ายภาพ บันทึกเสียง หรือบันทึกวิดีโอ เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานว่ามีการไปพบปะ พุดคุย รับประทานอาหาร ไปท่องเที่ยวกับชู้หรือไม่ หรือมีการพากันเข้าไปในสถานที่รโหฐานหรือไม่
-
จะต้องสืบหาข้อมูลเกี่ยวกับชู้ ว่าเป็นใคร อยู่ที่ไหน ประกอบอาชีพอะไร มีสามี หรือภริยาอยู่แล้วหรือไม่
หลักฐานที่ได้ดังกล่าวข้างต้นจะเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าสามีหรือภริยาของคุณ มีชู้หรือเป็นชู้กับใครหรือไม่ ถ้ามีหลักฐานที่น่าเชื่อถือพอเพียงก็สามารถใช้ฟ้องหย่า เรียกค่าเสียหาย ค่าทดแทน จากสามี ภริยา ที่มีชู้หรือเป็นชู้กับผู้อื่นได้ และยังสามารถใช้ฟ้องเรียกค่าทดแทน ค่าเสียหาย จากชู้ได้อีกด้วย
อัตราค่าบริการสืบพฤติการณ์ชู้สาวของสน.เอกชน
เรื่องพฤติกรรมเกี่ยวกับการเป็นชู้หรือมีชู้ เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและมีความซับซ้อน สน.เอกชน มีความจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบ ซึ่งรายละเอียดในแต่ละกรณีนั้นมีความสลับซับซ้อนแตกต่างกันไปแล้วแต่กรณีไป ซึ่งผู้ว่าจ้างต้องการให้ สน.เอกชน ดำเนินการในเรื่องใดบ้าง และผู้ว่าจ้างต้องการหลักฐานมากน้อยเพียงใด ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ว่าจ้างที่มาใช้บริการ สน.เอกชน โดยแยกเป็นเหตุผลหลักๆ ได้ดังนี้
ความต้องการผู้ว่าจ้างส่วนใหญ่ ที่จ้างให้สืบพฤติกรรมชู้สาว
-
ผู้ว่าจ้างต้องการทราบพฤติกรรมในแต่ละวันของ สามี ภริยา หรือคนรัก ว่าในแต่ละวันทำอะไรบ้าง มีการพบปะพูดคุยกับใครหรือไม่ มีการติดต่อกับชายอื่น หรือหญิงอื่น เป็นไปในทางชู้สาวหรือไม่ มีพฤติกรรมที่น่าไว้วางใจเพียงใด
-
ผู้ว่าจ้างต้องการหลักฐานเพื่อใช้ฟ้องหย่า ฟ้องเรียกค่าทดแทน ค่าเสียหาย จากชู้
-
ผู้ว่าจ้างต้องการใช้เป็นหลักฐานเพื่อขอสิทธิ์ในการเลี้ยงดูบุตร และอำนาจการปกครองบุตร
-
ผู้ว่าจ้างต้องการหลักฐานเอาไปให้ลูกดูถึงสาเหตุที่หย่าร้างกัน ว่าตนเองไม่ได้เป็นฝ่ายผิด
-
ผู้ว่าจ้างต้องการสืบประวัติชู้ เพื่อเอาประวัติในส่วนที่ไม่ดีไปให้สามีหรือภริยาดู เพื่อจะได้เลิกกับชู้
-
ผู้ว่าจ้างบางคนให้สืบพฤติกรรมเมียน้อยของตนเอง ว่าแอบไปมีชู้หรือไม่ (ทำตัวเหมาะสมกับที่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือไม่)
-
ผู้ว่าจ้างชาวต่างชาติ จ้างให้สืบประวัติผู้หญิงไทยก่อนแต่งงาน ว่ามีพฤติกรรมเหมาสมที่จะตกลงแต่งงานด้วยหรือไม่
-
บิดา มารดา ของฝ่ายหญิง ให้สืบประวัติความเป็นมาของผู้ชายที่ลูกสาวเข้าไปชอบพอด้วย ว่าเป็นพวกรักร่วมเพศหรือไม่ มีฐานะทางการเงินเป็นอย่างไร เคยมีภรรยา หรือบุตรมาก่อนหรือไม่
-
ผู้ว่าจ้างบางรายต้องการต้องการหลักฐานเพื่อเอาไปใช้ร้องเรียนกับผู้บังคับบัญชา ของ สามี ภริยา หรือชู้ (ในกรณีรับราชการ)
-
ผู้ว่าจ้างบางคนต้องการทราบว่าชู้ของสามีหรือภริยา เป็นใคร ประกอบอาชีพอะไร เพื่อจะเดินทางไปพบและพูดคุยกันกับชู้ หรือคู่สมรสของชู้
-
เหตุผลอื่นๆ แล้วของผู้ว่าจ้างฯ
จะเห็นได้ว่าแต่ละคนมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน ความต้องการใช้หลักฐานด้านชู้สาว นั้นจึงมีความแตกต่างกันไปด้วย อัตราค่าบริการสืบชู้สาวจึงขึ้นอยู่กับข้อตกลงแล้วแต่กรณี
รับ สืบทรัพย์ บังคับคดี ตามคำพิพากษา โดยทีมงานชุดสืบฯและทนายความมืออาชีพ
สน.เอกชน มีบริการ สืบทรัพย์ บังคับคดี ตามคำพิพากษา โดยการสืบหาทรัพย์สินที่เป็นของลูกหนี้ คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของลูกหนี้ ทั้งทรัพย์สินที่เป็น สังหาริมทรัพย์ เช่น รถยนต์ อุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องจักรอุตสาหกรรม เป็นต้น อสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน อาคาร สิ่งปลูกสร้างต่างๆ ตลอดจน บัญชีเงินฝากธนาคาร และดำเนินการบังคับคดีเพื่อให้ลูกหนี้ได้รับการชำระหนี้ตามคำพิพากษา ตามปกติแล้ว เมื่อเจ้าหนี้ไม่ได้รับการชำระหนี้จากลูกหนี้ เจ้าหนี้ก็จะใช้สิทธิในการยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อบังคับให้ลูกหนี้ทำการชำระหนี้ เมื่อศาลพิพากษาว่า จำเลย(ลูกหนี้)มีความผิดตามฟ้องของโจทก์(เจ้าหนี้) และมีคำสั่งให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์นั้น ไม่ได้หมายความว่าเจ้าหนี้จะได้รับการชำระหนี้จากลูกหนี้ในทันทีทันใด เพราะลูกหนี้บางคนอาจยังไม่ยินยอม ชำระหนี้ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด เจ้าหนี้จึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการบังคับคดีลูกหนี้ให้ชำระหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ได้กำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ชนะคดีตามคำพิพากษาต้องปฏิบัติตามกฎหมายเสียก่อน จึงจะมีอำนาจนำเจ้าพนักงานบังคับคดีออกอายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ของลูกหนี้ หรือขับไล่แล้วแต่กรณีไป จึงจะเห็นได้ว่าการสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้นั้นเป็นหน้าที่ของโจทก์(เจ้าหนี้) ไม่ใช่หน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี และไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำการสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้ เพราะคงไม่มีลูกหนี้รายใดยินยอมบอกเจ้าหนี้ว่าตนเองมีทรัพย์สินอะไรอยู่บ้าง เพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมายึดทรัพย์ไปโดยง่าย และลูกหนี้ตามคำพิพากษาบางรายอาจจะดำเนินการยักย้าย จำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินต่าง ๆ ไปก่อนที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะตามยึดทรัพย์เหล่านั้นเสียอีก ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจจะเข้าข่ายเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ได้อีกด้วย
การสืบทรัพย์
การสืบหาว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินอะไรอยู่บ้าง เป็นขั้นที่ตอนยากที่สุดของการบังคับคดี ซึ่งยากกว่าการฟ้องคดีเพื่อบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้เสียอีก เนื่องจากลูกหนี้ไม่ต้องการที่จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ ก็ย่อมที่จะปกปิด ซ่อนเร้น ทรัพย์สินของตน หรือมีการจำหน่าย หรือโอนทรัพย์สินของตนไปให้ผู้อื่น เพื่อไม่ให้เจ้าหนี้หาพบ ดังนั้นการสืบทรัพย์ ผู้ที่ทำการสืบฯต้องมีความรู้เรื่องกฎหมายเป็นอย่างดี มีความรู้ความชำนาญในงานสืบสวน และมีประสบการณ์ในการบังคับคดีภาคสนาม เพราะไม่เช่นนั้นเจ้าหนี้อาจต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เป็นจำนวนมาก และไม่สามารถสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้พบด้วย ทั้งนี้ในส่วนของข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ถือเป็นสิทธิเฉพาะตัวของลูกหนี้ ถ้าลูกหนี้ไม่ยินยอมก็ไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะผู้ที่ทำการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวอาจมีความผิดได้ ทำให้หน่วยงานราชการ ธนาคาร หรือหน่วยงานเอกชนต่างๆ ไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลของลูกหนี้ให้เจ้าหนี้ทราบ เว้นแต่มีบางกรณีหากเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเรื่องดังกล่าวแล้วก็สามารถร้องขอเพื่อดำเนินการตรวจสอบได้
ดังนั้น ทีมงานของ สน.เอกชน จึงต้องรับหน้าที่ในการสืบหาทรัพย์สินทุกประเภทที่เป็นของลูกหนี้ ทั้งอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน คอนโด ที่ดิน สังหาริมทรัพย์ เช่น รถ ตลอดจนทรัพย์สินอื่นๆ ที่ลูกหนี้มีอยู่ หรือสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ เช่น เงินในบัญชีธนาคาร เงินที่จะได้รับตามสัญญาจ้าง การเป็นหุ้นส่วนธุรกิจ การเป็นเจ้าของหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ เงินปันผล เป็นต้น และเมื่อสืบพบแล้วก็ต้องทำการวิเคราะห์และตรวจสอบอีกว่า ทรัพย์นั้นสามารถยึด อายัดได้หรือไม่ โดยต้องพิจารณาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 285 และ286 ซึ่งได้บัญญัติไว้ว่าทรัพย์สินใดยึดได้ ทรัพย์สินใดยึดไม่ได้
ขั้นตอนในการ สืบทรัพย์ บังคับคดี ตามคำพิพาษา
-
หลังจากศาลมีคำพิพากษาแล้ว หากจำเลยไม่มาฟังคำพิพากษา ทนายความของ สน.เอกชน จะส่งคำบังคับให้จำเลยทราบ โดยแถลงต่อศาลที่โจทก์ได้ฟ้องคดีเป็นหนังสือตามแบบของศาลและนำหมายส่งคำบังคับ เพื่อให้จำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษา หากพ้นกำหนดตามคำบังคับแล้ว จำเลยไม่ยอมปฏิบัติตาม หรือไม่ยอมชำระหนี้ ทนายความจะขอต่อศาลให้ออกหมายบังคับคดี ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อยึด อายัดทรัพย์ของจำเลยมาใช้หนี้ ตามคำพิพากษา พร้อมคัดถ่ายสำเนาคำพิพากษาของศาล , คำบังคับ , หมายบังคับคดีของศาลเพื่อใช้ประกอบในการยึดทรัพย์ของจำเลยต่อไป
-
ขั้นตอนในการสืบทรัพย์ของลูกหนี้ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ยากที่สุดในกระบวนการนี้ ทรัพย์ที่สืบพบก็ต้องแน่ใจว่าเป็นของลูกหนี้จริงๆ จึงจะทำการยึดทรัพย์ได้ ซึ่งทางบริษัทฯ จะให้นักสืบที่ชำนาญการในการสืบทรัพย์ดำเนินการดังนี้
-
เจ้าหน้าที่ของ สน.เอกชน จะทำการ สืบทรัพย์ เพื่อสืบหาในบัญชีที่เป็นชื่อลูกหนี้ (รวมทั้งกรณีที่ลูกหนี้ใช้ชื่อคนอื่นในการเปิดบัญชีธนาคารแทนชื่อตนเอง) ตามบัญชีเงินฝากธนาคารต่างๆ หรือลูกหนี้มีการลงทุนหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ หุ้นกู้ ทองคำ พันธบัตรรัฐบาล มีการลงทุนในกองทุนต่างๆ ของสถาบันการเงิน หรือมีการซื้อสลากออมสินอยู่ที่ใดหรือไม่
-
เจ้าหน้าที่ของ สน.เอกชน จะทำการ สืบทรัพย์ เพื่อหาว่าลูกหนี้มีเงินเดือนหรือผลตอบแทนอื่นใด (เช่น ค่าคอมมิชชั่น) จากการประกอบอาชีพ หรือการทำงานหรือไม่
-
เจ้าหน้าที่ของ สน.เอกชน จะทำการ สืบทรัพย์ เพื่อหาทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ เช่น รถยนต์ , ทรัพย์สินภายในที่พักอาศัย ทรัพย์สินที่เป็นอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน หรือเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
-
เจ้าหน้าที่ของ สน.เอกชน จะทำการ สืบทรัพย์ เพื่อสืบหาทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ เช่น ที่ดิน บ้าน คอนโดมิเนียม ร้านค้า สิ่งปลูกสร้างต่างๆ อาคาร สำนักงาน โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
-
เจ้าหน้าที่ของ สน.เอกชน จะทำการ สืบทรัพย์ เพื่อสืบหาว่าลูกหนี้มีการประกอบธุรกิจ หรือเป็นหุ้นส่วนร่วมลงทุนในบริษัท ห้างร้าน หรือการประกอบกิจการอื่นใดอีกหรือไม่
-
เจ้าหน้าที่ของ สน.เอกชน จะทำการ สืบทรัพย์ เพื่อสืบหาว่าลูกหนี้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาอันมีมูลค่าด้วยหรือไม่ เช่นลูกหนี้มีการจดทะเบียนเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ , สิทธิบัตร , เครื่องหมายการค้า ของสินค้าชนิดใดหรือไม่ เป็นต้น
-
เจ้าหน้าที่ของ สน.เอกชน จะทำการ สืบทรัพย์ เพื่อสืบหาว่าลูกหนี้มีสิทธิที่จะได้รับการชำระหนี้จากลูกหนี้ของลูกหนี้ตามกฎหมายหรือไม่ เช่น ลูกหนี้มีลูกหนี้อื่นที่ต้องชำระเงินแก่ลูกหนี้หรือไม่ (กรณีลูกหนี้เป็นเจ้าหนี้คนอื่นอีก) รวมถึงสัญญาจ้างต่างๆ ที่ลูกหนี้มีสิทธิได้รับค่าจ้าง สัญญาเช่าที่ลูกหนี้มีสิทธิได้รับค่าเช่า ตลอดจนสัญญาซื้อขายที่ลูกหนี้มีสิทธิ์ได้รับเงินตามสัญญาด้วย เพื่อที่เจ้าหนี้จะได้ดำเนินการใช้สิทธิเรียกร้องจากลูกหนี้ตามกฎหมายต่อไป
-
เจ้าหน้าที่ของ สน.เอกชน จะทำการ สืบทรัพย์ เพื่อสืบหาทรัพย์สินที่ลูกหนี้ได้จำหน่าย จ่าย หรือโอนทรัพย์สินให้กับบุคคลอื่นในระหว่างที่เป็นหนี้เจ้าหนี้ว่ามีทรัพย์สินเหล่านั้นหรือไม่ เช่น ลูกหนี้ได้มีการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินของตนเองให้กับบุคคลอื่นโดยมีเจตนาเพื่อไม่ให้เจ้าหนี้ได้รับการชำระหนี้ หรือมีการทำสัญญาในลักษณะที่เป็นนิติกรรมอำพราง เช่น แกล้งว่าตนเองเป็นหนี้เงินกู้บุคคลอื่นอีกโดยการทำสัญญาเงินกู้ขึ้นมาใหม่อีก โดยที่ตนเองไม่ได้เป็นหนี้จำนวนนั้นแต่อย่างใด เพื่อเจ้าหนี้จะได้ดำเนินการฟ้องเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวที่ลูกหนี้ได้กระทำขึ้นเพื่อเจตนาไม่ให้เจ้าหนี้ได้รับการชำระหนี้ หรือฟ้องลูกหนี้ในข้อหาโกงเจ้าหนี้ต่อไปแล้วแต่กรณี
-
-
ทนายความของ สน.เอกชน จะตั้งเรื่องยึดทรัพย์ตามประเภททรัพย์ที่ยึดได้ หากทรัพย์ที่ต้องการจะยึดอยู่นอกเขตอำนาจศาลที่ฟ้องคดี ต้องทำการตั้งเรื่องยึดทรัพย์ข้ามเขตยังสำนักงานบังคับคดีพื้นที่ที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลนั้น เมื่อสืบทรัพย์พบทรัพย์สินของลูกหนี้อย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อ 2. แล้ว ทางทนายความของ สน.เอกชน จะดำเนินการบังคับคดี ตามประเภทของทรัพย์สินที่สืบทรัพย์พบ ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
-
ทรัพย์สินของลูกหนี้ที่สืบทรัพย์พบเป็นเงินสดซึ่งอยู่ในบัญชีเงินฝากธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นบัญชีประเภทใด (ทั้งฝากประจำ ออมทรัพย์ หรือบัญชีประเภทอื่น) ทนายความของ สน.เอกชน จะแจ้งรายละเอียดของบัญชีเหล่านั้นให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ จากนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีจะทำการอายัดเงินในบัญชีดังกล่าว โดยการส่งหนังสือแจ้งการอายัดไปยังธนาคารที่ลูกหนี้ได้เปิดบัญชีเอาไว้นั้นเพื่อให้ธนาคารนำส่งเงินให้กับเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจะได้แจ้งให้เจ้าหนี้มารับเงินดังกล่าวต่อไป (กรณีนี้เจ้าหนี้จะได้รับเงินเร็วที่สุด)
-
ทรัพย์สินของลูกหนี้ที่สืบทรัพย์พบเป็นสังหาริมทรัพย์ประเภทต่างๆ เช่น รถยนต์ , อุปกรณ์หรือเครื่องมือเครื่องใช้ภายในบ้านพัก , เครื่องจักรกลในโรงงานอุตสาหกรรม , สินค้าต่างๆ ของลูกนี้ที่ผลิตเสร็จแล้ว หรือ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในสำนักงาน เป็นต้น ทนายความของ สน.เอกชน จะทำการนัดหมายกับเจ้าพนักงานบังคับคดี แล้วนำเจ้าพนักงานบังคับคดีออกไปทำการตรวจยึดทรัพย์สินดังกล่าวตามสถานที่ที่พบทรัพย์สินนั้นๆ ตั้งอยู่ เพื่อนำทรัพย์สินดังกล่าวออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ต่อไป
-
ทรัพย์สินของลูกหนี้ที่สืบทรัพย์พบเป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน , บ้าน , คอนโดมิเนียม , สิ่งปลูกสร้าง , อาคาร สำนักงาน หรือโรงงานอุตสาหกรรม โกดังเก็บสินค้า เป็นต้น ทนายความของ สน.เอกชน จะทำการคัดถ่ายสำเนาเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์เหล่านั้นจากสำนักงานที่ดินที่อสังหาริมทรัพย์นั้นๆ ตั้งอยู่ (รับรองสำเนา) พร้อมทำแผนที่ , ถ่ายรูป รวมถึงราคาประเมินเบื้องต้น นำมาทำการตั้งเรื่องยึดทรัพย์ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะได้ทำเรื่องยึดทรัพย์แจ้งไปยังนายทะเบียนของอสังหาริมทรัพย์นั้นๆ และแจ้งลูกหนี้หรือผู้มีส่วนได้เสียทราบตามกฎหมาย และทำการประเมินราคา แล้วนำอสังหาริมทรัพย์นั้นออกขายทอดตลาด เพื่อนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ต่อไป
-
ทรัพย์สินของลูกหนี้ที่สืบทรัพย์พบเป็นทรัพย์สินประเภทอื่น เช่น การประกอบธุรกิจ บริษัท ห้างหุ้นส่วน ร้านค้า หุ้น หรือหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ สิทธิความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาประเภทต่างๆ ทนายความของ สน.เอกชน จะแจ้งรายละเอียดของทรัพย์สินเหล่านั้นให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ เพื่อทำการอายัดและยึดทรัพย์ เพื่อนำเอาทรัพย์สินเหล่านั้น ออกขายทอดตลาด เพื่อนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ต่อไป
-
-
ขั้นตอนการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ ในการขายทอดตลาดจะเป็นการขายทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งได้ทำการยึดมาแล้วโดยเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยจะเป็นการประมูลขายให้กับบุคคลทั่วไป (ในบางกรณีลูกหนี้อาจส่งตัวแทนเข้าร่วมการประมูลด้วยก็ได้) ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ผู้ที่ต้องการจะซื้อทรัพย์สินนั้นได้มีการเสนอราคาแข่งกัน ใครให้ราคาที่สูงกว่าก็จะได้ทรัพย์สินนั้นไป (ในกรณีที่ราคาที่ประมูลต่ำกว่าความเป็นจริงเกินไป เจ้าพนักงานบังคับคดีสามารถที่จะทำการคัดค้านราคาขายได้) โดยปกติแล้วทางสำนักงานบังคับคดีจะนัดหมายการประมูลไว้ 4 ครั้ง (หากขายได้ก่อนก็จะยกเลิกนัดถัดไปโดยอัตโนมัติ) ซึ่งขั้นตอนการขายทอดตลาดดังกล่าวทางสน.เอกชน จะให้ทนายความทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลการขายทอดตลาดทุกครั้ง เพื่อป้องกันการเสียเปรียบของเจ้าหนี้ในการขายทอดตลาดในทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ทำการตรวจยึดมาได้ อันเป็นการรักษาผลประโยชน์ของเจ้าหนี้อย่างเต็มที่ เพื่อให้เจ้าหนี้ได้รับการชำระหนี้มากที่สุด
-
เจ้าหน้าที่หรือทนายความของ สน.เอกชน การคิดบัญชีและรับเงินจากเจ้าพนักงานบังคับคดี
อัตราค่าบริการ สืบทรัพย์ บังคับคดี ตามคำพิพากษา
-
ก่อนเริ่มงาน สน.เอกชน จะมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเบื้องต้นในการดำเนินการสืบทรัพย์บังคับคดี โดยคิดค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตามขอบเขตในการสืบทรัพย์แต่ละคดี เช่น ให้สืบหาทรัพย์สินของใครบ้าง เป็นทรัพย์เฉพาะตัวของลูกหนี้ หรือของคู่สมรสด้วย (อัตราขั้นต่ำอยู่ที่15,000 บาท ขึ้นอยู่กับข้อตกลงแล้วแต่กรณี)
-
สน.เอกชน จะทำหนังสือสัญญาว่าจ้างสืบทรัพย์บังคับคดี และหนังสือมอบอำนาจเพื่อให้ท่าน หรือผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องทำการมอบอำนาจให้ทาง สน.เอกชน ดำเนินการติดตามสืบทรัพย์บังคับคดีกับลูกหนี้ของท่าน
-
สน.เอกชน จะทำการสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รับงาน ไม่ว่าจะสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้พบหรือไม่ก็ตาม สน.เอกชน จะแจ้งท่านทราบเป็นลายลักษณ์อักษรในรายละเอียดที่ทาง สน.เอกชน ได้ดำเนินการสืบสวนไปแล้ว ว่าทาง สน.เอกชน ได้ดำเนินการอะไรให้ท่านไปบ้าง
-
เมื่อ สน.เอกชน ได้ดำเนินการให้ลูกหนี้ของท่านชำระหนี้ให้แก่ท่าน หรือมีการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ทำการขายทอดตลาดแล้ว หรือ สน.เอกชน มีการดำเนินการอื่นไม่ว่าด้วยกรณีใดๆ เพื่อให้ท่านได้รับชำระหนี้ เมื่อท่านได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้หรือตัวแทนลูกหนี้แล้ว ทาง สน.เอกชน จะคิดค่าจ้างจากท่านอีก ร้อยละ 20-30 ของยอดเงินที่ท่านได้รับ (คิดตามจำนวนเงินสดที่ท่านได้รับในแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับข้อตกลงแล้วแต่กรณี)
-
ในการทำงานแต่ละขั้นตอน สน.เอกชน จะมีการรายงานความคืบหน้าให้ท่านทราบเป็นลายลักษณ์อักษร ว่า สน.เอกชน ได้ดำเนินการอะไรไปบ้าง
-
การบริการสืบทรัพย์บังคับคดีนี้ สน.เอกชน จะเป็นผู้ดำเนินการทั้งหมดตั้งแต่การสืบทรัพย์ของลูกหนี้ การตั้งเรื่องยึดหรืออายัดทรัพย์ การขับไล่ การนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ จนถึงดูแลการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ให้แก่ท่าน จนกว่าท่านจะได้รับเงินจากลูกหนี้หรือจำเลย จนเสร็จสิ้นกระบวนการ โดยในขั้นตอนการสืบทรัพย์นั้น จะดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ซึ่งมีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการสืบหาทรัพย์สิน และในขั้นตอนการยึด หรืออายัดทรัพย์นั้นจะดำเนินการโดยทนายความที่มีความชำนาญ และมีประสบการณ์สูง ซึ่งจะทำให้ท่านมั่นใจได้ว่า ท่านมีโอกาสที่จะได้รับการชำระหนี้จากลูกหนี้มากที่สุด
นักสืบระดับมืออาชีพ
จากประสบการณ์ที่รับราชการตำรวจมาเป็นเวลา 28 ปี และได้ทำงานด้านสืบสวน สอบสวน จนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต และทำให้รู้ว่าการสืบหาอะไรสักอย่างไม่ใช่เรื่องยากแต่ก็บางอย่างก็ไม่เรื่องง่ายอย่างที่คิด
หลังจากที่ผมได้ลาออกจากราชการและรับงานนักสืบจนเป็นที่ถูกอกถูกใจผู้ว่าจ้างมานักต่อนัก แต่ผมก็ไม่เคยหยิ่งผยองว่าตัวเองเก่งกาจเพราะก็มีเรื่องที่เกิดความสามารถเช่นการสืบข้ามประเทศซึ่งยอมรับว่าทีมงานของเราทำงานลำบากมาก
ไม่ว่าภารกิจในการติดตามสืบสวนในเรื่องของผู้ว่าจ้างจะเล็กหรือใหญ่ ทางเราจะให้ความสำคัญกับทุกคดี จะเห็นว่าในบางกรณีที่ท่านผู้ว่าจ้างไปติดต่อแจ้งความร้องทุกข์ตามสถานีตำรวจตามปกติ เรื่องของท่านอาจจะไม่ได้รับการดูแล หรือติดตามในขณะนั้น เมื่อผู้ว่าจ้างนำเรื่องของท่านมาว่าจ้างเรา เมื่อมีการตกลงทำสัญญาว่าจ้างกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราจะเริ่มดำเนินการในเรื่องของท่านในทันที
ขั้นตอนดำเนินงาน
ทางเรามีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
-
รับงานจากลูกค้า
-
ทำหนังสือสัญญาจ้างติดตามเร่งรัดหนี้สิน (ผู้ว่าจ้างจะต้องมีอำนาจในการทวงหนี้และทำเป็นหนังสือมอบอำนาจให้กับทางบริษัท)
-
เมื่อท่านได้รับชำระหนี้แล้ว บริษัทจะเรียกเก็บค่าบริการร้อยละ 30 ของมูลค่าหนี้ที่ท่านได้รับจากลูกหนี้
-
ทุกขั้นตอนการทำงานบริษัทจะแจ้งให้ทราบเป็นลายลักษณ์อักษร
หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ เมนูติดต่อเรา